จุดประกายสอน Teach idea
ครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ การเรียนการสอนที่แนะนำ จุดประกายสอน
เพราะประสบการณ์มีเพียงแค่ครั้งเดียว ปฐมวัยจึงเป็นโอกาสที่จะทำให้เขาเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ นางสาวธัญญา เเซ่โต๋ว ครูโรงเรียนคลองบางน้ำจืด
พัฒนาการของเด็ก เป็นรากฐานแห่งบ่อเกิดชองชีวิต เมื่อเด็กๆย่างเข้าสู่การศึกษา หมายถึงว่า การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นในทุกวินาที ด้วยบริบทของโรงเรียนคลองบางน้ำจืด รายล้อมไปด้วยชุมชนที่แออัด โรงงาน การคมนาคมที่หนาแน่น ความหลากหลายของผู้คนในวิถีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ทำให้ความเข้าใจในภาษา จุดศูนย์กลางของการสื่อสารย่อมต้องใช้ความเข้าใจและระยะเวลาเพื่อให้เกิดเป้าหมายเดียวกัน นางณัชชา ยอดยศ ผู้อำนวยการโรงเรียนคลองบางน้ำจืด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ให้ความสำคัญของพัฒนาการเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก เปิดโอกาสให้ครูผู้สอนเน้นการจัดประสบการณ์ชีวิตที่เป็นการเรียนรู้อันเป็นพื้นฐานสำคัญของการเจริญเติบโตสมวัยตามพัฒนาการอย่างหลากหลาย อิสระ และมุ่งเน้นเป้าหมายของเด็กปฐมวัยเป็นสำคัญ “เพียงเพราะโอกาสของเด็กปฐมวัยมีเพียงครั้งเดียว” อุดมคติของครูธัญญา เเซ่โต๋ว หรือ ครูเก๋ ครูโรงเรียนคลองบางน้ำจืด ที่เกิดขึ้นในจิตวิญาณความเป็นครูที่มากกว่าหน้าที่ครู ครูเก๋ จัดประสบการณ์สอนนักเรียนจากการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เข้าถึงผู้ปกครองเป็นรายบุคคลด้วยการเยี่ยมบ้าน พูดคุย ถึงเรื่องราวของนักเรียนในด้านทักษะพื้นฐาน การดำเนินชีวิต กิจวัตรประจำวันของนักเรียน รวมไปถึงพัฒนาการที่ผู้ปกครองคาดหวังติดตามผู้เรียนอย่างใกล้ชิด หลังจาการเยี่ยมบ้านพบปะนักเรียน ผู้ปกครองเป็นรายบุคคล ทำให้ตกผลึกความคิดว่า “ความสำคัญของการจัดประสบการณ์ชีวิตปฐมวัยเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่ง” หากการออกแบบการจัดการเรียนรู้ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์จะทำให้ผู้เรียนพลาดถึงความเข้าใจในองค์ความรู้ที่จะต่อยอดความรู้สึกนั้นในอนาคตได้ ด้วยบริบทของโรงเรียนคลองบางน้ำจืดที่มีความหลากหลายของนักเรียนจากภูมิภาคต่าง ๆ วิถีชีวิต วัฒนธรรม อาหารการกิน จุดเริ่มต้นของศูนย์กลางองค์ความรู้ คือ “สื่อการเรียนรู้เสมือน” เพราะโอกาสของนักเรียนในเมืองไม่สามารถเข้าถึงสื่อจริงได้ หรือต้องใช้ช่วงเวลาที่เหมาะสม แต่ก็ไม่ได้สม่ำเสมอ สื่อการสอนจึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้เด็กปฐมวัยสามารถสัมผัสได้ถึงบรรยากาศจำลอง […]
โค้ดดิ้ง (Coding) กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมกระบวนการคิดเชิงคำนวณสู่ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 : ว่าที่ ร.ต.ภาณุวัฒน์ พุ่มเกษม
กระผม ว่าที่ ร.ต.ภาณุวัฒน์ พุ่มเกษม ครูโรงเรียนวัดศรีประชาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 โรงเรียนขยายโอกาสที่มีวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนสถานศึกษาที่ชัดเจนว่า “องค์กรแห่งการเรียนรู้ ครูมีมาตรฐานทันสมัย ก้าวไกลด้วยนวัตกรรม นำเด็กไทยสู่ศตวรรษที่ 21” ค่อนข้างมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เอื้อต่อกการส่งเสริมให้สถานศึกษามีแหล่งเรียนรู้ มีสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียน ด้วยความพร้อมของสถานศึกษา ขณะเดียวกันเทคโนโลยีมีพัฒนาอย่างรวดเร็ว AI สามารถเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้มนุษย์อย่างมากมาย แต่เด็กและเยาวชนกลับขาดการเชื่อมโยงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ผู้เรียนจะคอยรับเนื้อหาที่เรียนและการลงมือปฏิบัติจากครูผู้สอนเพียงฝ่ายเดียว เมื่อให้ออกแบบผลงาน พบว่านักเรียนจะติดการแบบเลียนแบบ ขาดสิ่งแปลกใหม่ และขาดการใช้จินตนาการสร้างสรรค์ที่ไม่สามารถโยงความคิดไปสู่เป้าหมายอย่างชัดเจน ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากการเรียนการสอนในโรงเรียนที่กระผมในจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนในระดับชั้น ม.1 – ม.3 ผมจึงมองหาหาแนวทางในการพัฒนานักเรียนให้มีทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ คิดวิจารณญาณ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กับการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณเรื่องการคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาเป็น และสามารถแก้ปัญหาตามโจทย์ที่กำหนดให้ได้ โดยอาศัยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) ร่วมกันออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบ ADDCODE Model ก่อนอื่นการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการช่วยเหลือ พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนในการคิดเพื่อแก้ปัญหาของผู้เรียนได้อย่างตรงเป้าหมาย ซึ่งในรายวิชาวิทยาการคำนวณ ผมออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาการคำนวณที่เน้นการแก้ปัญหาสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 เพื่อให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงและเห็นถึงสภาพปัญหา และหาแนวทางแก้ปัญหาด้วยตนเอง […]